|
มารู้จัก 🐽โรคอหิวาต์แอฟริกาในหมู(ASF)🐽กันเถอะ!! ปลอดภัยมั่นใจได้!! โรค ASF ในสุกร ไม่ติดต่อสู่คน ปัจจุบันยังไม่พบโรคดังกล่าวในประเทศไทย เพราะมีมาตรการ เช่น การเข้มงวด กับการนำเข้าเนื้อหรือผลิตภัณฑ์หมู จากต่างประเทศ โดยเฉพาะในแถบประเทศเพื่อนบ้านเพื่อเป็นการป้องกันในเบื้องต้น สุกรที่ติดเชื้อจะแสดงอาการ ไข้ขึ้นสูง 40.5-42°C หนาวสั่น ผิวหนังสีแดง มีจุดเลือด โดยเฉพาะบริเวณใบหู พื้นท้อง โคนขาด้านใน หายใจหอบ ระยะแรกมีอาการท้องผูก ระยะต่อมาจะท้องเสียถ่ายเหลว และอาจพบอาการทางประสาทร่วมด้วยเช่น เดินโซเซ ขาหลังเป็นอัมพาต ไม่กินอาหาร ไม่ยอมเคลื่อนไหว และไม่มีแรง โดยสามารถติดได้ทุกช่วงวัย และมีโอกาสตายภายใน 2 สัปดาห์
การติดต่อและแพร่กระจาย ติดต่อได้โดยตรง จากการสัมผัสเชื้อสุกรที่ป่วยโดยตรง ติดต่อโดยอ้อม จากการสัมผัสอุปกรณ์และภาชนะ รวมถึงเศษอาหาร หรือสุกรอาจถูกกัดโดยเห็บอ่อนที่รับเชื้อมาแล้ว ซึ่งพบมากในสุกรป่า
ในปัจจุบันนี้ยังไม่มีวัคซีนป้องกันหรือการรักษาโรคเฉพาะ และหากระบาดขึ้นแล้ว โอกาสกำจัดเชื้อให้หมดไปนั้น ทำได้ค่อนข้างยาก และมักพบการระบาดซ้ำ ดังนั้นกรมปศุสัตว์จึงเข้มงวดกับการป้องกันอย่างจริงจัง
โดยออก 10 มาตรการ สำหรับเกษตรกรผู้เลี้ยงหมู ดังนี้
หากพบสุกรในฟาร์มป่วยผิดปกติ หรือกรณีสงสัย ทำการแจ้งกรมปศุสัตว์ทันที
สำหรับผู้บริโภค เรายังสามารถบริโภคเนื้อหมูได้เป็นปกติ ไม่เป็นอันตรายใดๆ เพียงแต่ต้องผ่านการปรุงสุก ก็ช่วยให้ปลอดภัยจากเชื้อ ASF รวมถึง เชื้อไวรัส แบคทีเรีย หรือยีสต์ชนิดอื่นๆ ได้ด้วย
เพราะฉะนั้น เนื้อหมูไทยปลอดภัย บริโภคได้ 100% |
|
|